ShareX โปรแกรมจับภาพหน้าจอเทพๆ ที่น่าใช้อีกตัวหนึ่ง

ระหว่างที่เขียนบล็อกสอนการทำธีมเวิร์ดเพรสอยู่ ด้วยความขี้เกียจที่จะต้องแคปจอ แปะใส่โปรแกรม เซฟ แล้วอัพโหลด (อารมณ์อยากได้ที่มันแคปแล้วอัพได้ทันที) ก็เลยตามหาโปรแกรมจับภาพหน้าจอเจ๋งๆสักตัวหนึ่ง ที่สามารถจับภาพหน้าจอแล้วอัพโหลดขึ้นอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ หาไปหามา ก็เจอกับโปรแกรมเจ๋งๆ ที่ชื่อว่า ShareX ครับ

ปล.จริงๆ ผมอัพโหลดภาพในบล็อกไว้ที่ Picasa ซึ่ง ShareX ไม่รองรับครับ แต่ถึงอย่างนั้น ฟีเจอร์อื่นๆของมันถือว่าเยี่ยมมากเลยทีเดียว

ShareX โปรแกรมจับภาพหน้าจอเทพๆ มากความสามารถที่น่าใช้งานอีกตัว

ฟีเจอร์ของ ShareX

  • รองรับการจัดภาพหน้าจอแบบเต็มจอ เฉพาะหน้าต่าง หรือเฉพาะส่วน
  • สามารถตั้งให้เปิดแก้ไขภาพในโปรแกรมอื่นๆ ก่อนที่จะอัพโหลดได้
  • เซฟไฟล์อัตโนมัติเอาไว้ในเครื่อง
  • อัพโหลดภาพขึ้นไปยังเซอร์วิสต่างๆ
  • สามารถคัดลอกโค๊ดต่างๆได้จากในตัวโปรแกรม เช่นโค๊ด html สำหรับแทรกภาพ หรือ BBCode สำหรับแปะในเว็บบอร์ด
  • รองรับการย่อ URL ในตัว
  • รองรับการอัพโหลดข้อความขึ้นเว็บ
  • รองรับการอัพโหลดไฟล์ขึ้นอินเตอร์เน็ต
  • แชร์สิ่งที่อัพโหลดไปยัง Twitter
  • ตั้งค่าฮอตคีย์สำหรับจับภาพได้

พวกนี้ถือเป็นฟีเจอร์คร่าวๆ ในโปรแกรมครับ เซอร์วิสต่างๆที่ตัวโปรแกกรมเชื่อมต่อได้นั้นมีเยอะมาก เราลองไปดูกัน

Read More

เริ่มต้นเขียน Theme ของ WordPress ใช้เอง ตอนที่ 1

อยู่ก็อยากเขียนบทความยาวๆสักชุดนึง (ได้ข่าวว่าชุดเก่าก็ยังไม่เสร็จ) แต่ไม่รู้จะทำอะไรดี พักนี้รับงานเวิร์ดเพรสอยู่ เอาเป็นว่าจะเขียนบทความแนะนำการสร้างธีมของ WordPress เบื้องต้นให้แล้วกันครับ เผื่อใครที่ต้องการที่จะเขียนธีมใช้เอง โดยในตอนแรก ผมจะพาไปรู้จักกับโครงสร้างไฟล์ธีมของ WordPress และการคอนฟิกธีมเบื้องต้นกันก่อนนะครับ การเขียนคำสั่งต่างๆ จะพาไปรู้จักกันในตอนถัดไป

อ้อ ก่อนอื่น ผมจะสมมุติว่าทุกท่านมีพื้นฐาน PHP, HTML, และ CSS มาอยู่แล้วนะครับ (ถึงไม่มีก็อ่านได้ครับ แต่ถ้ามี จะเข้าใจง่ายกว่า)

ไฟล์ธีมที่สำคัญของ WordPress

ระบบธีมของ WordPress เอาเข้าจริงแล้วมันคือไฟล์ php ธรรมดาๆ ที่เรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆของ WordPress เราจะพูดว่า WordPress เป็นชุดคำสั่งสำเร็จรูปให้เราเอามาสร้างเป็นเว็บ ก็เห็นจะไม่ผิดนัก โดยพื้นฐานแล้ว ธีมของ WordPress มีเพียงสองไฟล์ ก็สามารถทำงานได้แล้ว นั่นคือ

  1. index.php
  2. style.css

ที่พูดมานี่เรื่องจริงนะเออ ถ้าไม่เชื่อ ลองโหลดไปดูครับ: example01.rar

Read More

$(document).ready กับ $(window).load จะใช้อะไรดี?

ใน jQuery มีวิธีสั่งให้สคริปท์ทำงานเมื่อหน้าเว็บโหลดเสร็จอยู่สองวิธี คือ

$(document).ready();

และ

$(window).load();

ซึ่งสองวิธีนี้มันมีจุดต่างกันเล็กน้อยครับ

$(document).ready();

สำหรับ $(document).ready(); นั้น จะเป็นการสั่งให้โค๊ดทำงานเมื่อเบราเซอร์โหลด HTML Document ทั้งเว็บเสร็จเรียบร้อย และ DOM อยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน จึงจะสั่งให้ JavaScript ทำงานครับ (คือมันไม่รอให้อะไรอย่างอื่น เช่นไฟล์ภาพบนหน้าเว็บโหลดเสร็จ ก็จะสั่งให้สคริปท์ทำงานเลย)

วิธีนี้จะมีปัญหากับเบราเซอร์บางตัว ไม่สิ ตัวเดียวเลย ก็คือ Google Chrome ครับ อย่างล่าสุดที่ผมเจอนี่คือสคริปท์จะทำงานก่อนที่ CSS จะประมวลผลหมด

$(window).load();

เมื่อวิธีแรกมีปัญหา เราก็เปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ครับ $(window).load(); จะเป็นการสั่งให้สคริปท์ทำงานเมื่อหน้าเว็บทั้งหน้าโหลดเสร็จเรียบร้อยครับ คือสคริปท์จะรอให้ทุกอย่างบนหน้าเว็บโหลดเสร็จเรียบร้อย ทั้งภาพ วัตถุ หรือเฟรมต่างๆ แล้วจึงค่อยให้สคริปท์ทำงานครับ

Read More