เขียน AJAX บน WordPress

ปกติเวลาที่เราเขียน AJAX กัน  การรับส่งข้อมูลระหว่างเบราเซอร์และเซิร์ฟเวอร์  จำเป็นจะต้องมี handler ตัวหนึ่งคอยจัดการ (ก็ที่เราสร้างออพเจ็กท์ xhr เรียกไปหาสคริปท์บนเซิร์ฟเวอร์สักตัวหนึ่ง  เช่น xhr.php นั่นแหละ) ซึ่งหลายๆ คนที่เป็นมือใหม่เวิร์ดเพรส  อาจจะมีคำถามว่า แล้วบนเวิร์ดเพรสมันทำยังไง?

ในการทำ AJAX บนเวิร์ดเพรสนั้น เวิร์ดเพรสจะเตรียม action ตัวหนึ่งเอาไว้ให้เรา  นั่นคือ wp_ajax  วิธีใช้ของมันก็คือจัดการ add_action(); เข้าไป  โดย action ที่จะใช้คือ wp_ajax_xxxx โดย xxxx จะเป็นชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการใช้  โดยชื่อนี้จะเอาไว้เรียกหาแอคชันนี้ด้วย admin-ajax.php (ผมรู้ว่างง  เดี๋ยวอ่านๆ ไปจะเก็ตเอง)

เอาล่ะ  มาดูโค๊ดกัน

<?php
	add_action("wp_ajax_myxhr", "myajax");
	function myajax(){
		...
		die();
	}
?>

อันนี้คือการ add_action(); ปกติของเวิร์ดเพรส  โดยพารามิเตอร์แรกจะเป็นชื่อแอคชัน  และพารามิเตอร์ที่สองจะเป็นชื่อฟังก์ชันที่เราจะใช้  สังเกตุว่าเราจะใส่ die(); ลงไปที่ท้ายฟังก์ชันด้วย  เพราะว่าถ้าเราไม่สั่ง die(); ตัว admin-ajax.php มันจะพ่นค่าต่อท้ายออกมา (เอาจริงๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคือค่าของอะไร) ทำให้ xhr ของเราเจ๊งได้ครับ  อย่างนี้

Read More

รวมปลั๊กอิน WordPress ที่ผมใช้บนบล็อกนี้

จริงๆ แล้วโพสต์นี้ผมกะจะเขียนรวมปลั๊กอินสำหรับงานประเภทต่างๆ  แต่ด้วยว่าผมก็ไม่ได้ใช้ปลั๊กอินเยอะแยะอะไร  จะรวมๆ มาเขียนเดี๋ยวก็ดูจะเหมือนนั่งเทียนเขียนอีก  หันซ้ายหันขวาเลยเอาปลั๊กอินที่ใช้อยู่ปัจจุบันมาเขียนให้อ่านแล้วกันครับ

คงจะสังเกตุกันว่าบล็อกของผมไม่ค่อยมีฟีเจอร์แปลกประหลาดอะไรสักเท่าไหร่  อาจจะเดาออกได้ว่าบล็อกของผมนั้นติดตั้งปลั๊กอินไว้ไม่มาก  ก็อาจจะถูกต้องครับ  เพราะผมลงและ Activate ไว้แค่ 12 ตัวเท่านั้น

[divider top=”0″]

Akismet

Akismet เป็นบริการกรองสแปมของ WordPress ครับ  หลักๆ แล้วหน้าที่ของมันคือเอาคอมเมนต์ไปประมวลผลว่ามันเข้าใกล้กับสแปมในฐานข้อมูลหรือเปล่า  ถ้าเข้าใกล้ก็จะโยนไปลงกล่องสแปม  ซึ่งเท่าที่ใช้มานั้นพบว่ามันไม่เคยตรวจสอยผิดเลยครับ (false positive = 0)

Read More

บ่นกระปอดกระแปด กับการพยายามใช้ลีนุกซ์

ผมเป็นคนนึงที่พยายามใช้ลีนุกซ์อยู่หลายๆ ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ใช้ก็ยังพบกับความไม่พร้อมของมันอยู่ตลอด ความพยายามล่าสุดของผมคือการใช้ Elementary OS Luna (มี base เป็น Ubuntu 12.04 LTS)

ปัญหาแรกที่ผมเจอคือมันยังไม่รองรับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันใช้เคอร์เนลเก่า (3.2) ก็เป็นได้ ในกรณีของผมคือถ้าอัพเกรดเป็น 3.10 แล้ว Ethernet “ควร” จะใช้ได้ แต่ Wifi นี่ไม่ทราบชะตากรรม

Kernel ของ Ubuntu 12.04 นั้นมีให้ใช้กันถึงแค่ 3.8 เท่านั้น ผมเลยลองอัพเกรดเล่นๆ บนโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่า ที่ Wifi ใช้ได้ปกติดี พบว่าพออัพเกรดปุ๊บ Wifi ที่เคยใช้ได้ก็เดี้ยงไปในทันที (ดีว่าการสลับเวอร์ชันเคอร์เนบนลีนุกซ์นั้นไม่ลำบากเท่าไหร่นัก  เลยสลับกลับมาใช้ 3.2 เหมือนเดิม)

อีกข้อหนึ่งที่ผมค่อนข้างหงุดหงิดกับระบบจัดการแพ็คเกจบนลีนุกซ์  คือมันไม่เอื้ออำนวยต่อการลงโปรแกรมแบบแยกราย User นัก  โปรแกรมที่ลงผ่าน Software Center หรือ .deb จะถูกติดตั้งไว้ที่ส่วนกลาง  แต่ละ User จะเก็บคอนฟิกแยกกันเท่านั้น  ดังนั้นคนที่ไม่ใช่มีสิทธิ์แอดมิน  จะลงโปรแกรมไม่ได้เลย (ถ้าจะลงก็คือต้องโหลดซอร์สโค๊ดมาคอมไพล์เอง  แล้วเก็บไว้ที่ ~/)

เรื่องของเรื่องคือผมกะจะเอาโน๊ตบุคเก่าไปให้แม่ใช้  แต่ไม่อยากให้รหัสผ่านแอดมินกับแม่  เพราะแม่ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องคอม  เกิดลงอะไรผิด  หรือไปแก้อะไรผิด  ล่มทั้งระบบจะพาลปวดหัวเอา  แต่ปรากฎว่าถ้าไม่มีรหัสผ่านแอดมิน  ก็จะไม่สามารถลงโปรแกรมใดๆ ได้เลยซะงั้น

แต่รวมๆ แล้วสำหรับการใช้งานทั่วไป  ผมว่า Elementary OS ทำได้ดีมาก (ผมว่ามันคล่องมือกว่า Ubuntu เยอะ) หลังจากใช้ไปสักพักผมอาจจะเขียนรีวิวดิสโทรนี้ดูสักหน่อย  วันนี้เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน  สวัสดีครับ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ iCloud

ปกติแล้วบทความบนบล็อกนี้ผมจะเขียนเอง  แต่วันนี้มาแปลกนิดนึง  เพราะว่ามีผู้อ่านท่านหนึ่งฝากบทความแนะนำ iCloud ให้นำมาลงเว็บ  ผมลองอ่านดูคร่าวๆ แล้วคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ใช้สินค้าแอปเปิล  ที่ยังไม่ทราบว่า iCloud ที่พูดๆ กันนั้นคืออะไร  และสามารถทำอะไรได้บ้าง  ลองไปอ่านกันดูครับ


icloud

หากพูดถึง iCloud เชื่อว่าหลายๆ ท่านที่ใช้สมาร์ทโฟน คงต้องเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง โดยเฉพาะสาวก iPhone หลายท่าน ที่น่าจะรู้จักกันดี ซึ่ง iCloud นั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์อย่างมาก แต่กับบางท่านที่ไม่ใช่สาวกผลิตภัณฑ์ของ Apple ก็อาจจะไม่สนใจนัก เพราะคิดว่ามันไม่มีประโยชน์สำหรับตนแต่ท่านรู้หรือไม่ ว่าในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนจากผู้ผลิตอื่นบางรุ่น เช่น BlackBerry Z 10 บนระบบปฏิบัติการ BlackBerry 10 ก็สามารถเชื่อมต่อกับ iCloud ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจะพาท่านไปรู้จักกับ iCloud กันให้ลึกซึ้งมากขึ้น เผื่อว่าใครที่ยังไม่เคยใช้ จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีอันแสนมีประโยชน์นี้

iCloud คืออะไร?  iCloud คือชุดบริการ Cloud Storage และ Cloud Computing ที่ Apple สร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการกับลูกค้าของตน  โดยที่บริการ iCloud จะเป็นตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้  ที่สามารถซิงค์ข้ามไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ที่ผู้ใช้มีอยู่ได้  และยังมีบริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ด้วยเช่นกัน  เช่น อีเมล, งานเอกสาร, หรือการตามหาเครื่องหาย

Read More