การเรียกใช้ Partial Template ใน WordPress

ธีมของเวิร์ดเพรสนั้น  นอกจากการสร้างไฟล์ตาม Hierarchy แล้ว  มันยังรองรับการตัด Template ออกเป็นส่วนๆ  แล้วค่อยเรียกเข้ามาแสดงใน Template หลักอีกด้วย  ซึ่งส่วนหลักๆ ที่เรามักจะใช้กัน  จะมีอยู่สี่ส่วนด้วยกัน  นั่นคือ

  1. ส่วน header.php
  2. ส่วน footer.php
  3. ส่วน sidebar.php
  4. ส่วน searchform.php

และนอกจากสี่ส่วนนี้แล้ว  เวิร์ดเพรสยังอนุญาตให้เราสร้าง Template Part ขึ้นมาเอง  และเรียกมาแสดงผลผ่านฟังก์ชัน get_template_part();  ได้อีกด้วย

ข้อดีของการใช้ Partial Template

หลายๆ ครั้งที่เราสร้าง Template ให้กับหลายๆ หน้า  และมีบางส่วนที่เป็นโค๊ดซ้ำๆ กัน (เช่นส่วนแสดงชื่อโพสต์และวันที่, ส่วนแสดงเนื้อหา, ส่วนแสดงข้อมูลผู้โพสต์) หากเราสร้างออกมาเป็น Template ปกติ  เมื่อมีการแก้ไขส่วนที่โค๊ดซ้ำๆ กันนี้  เราจะต้องไปแก้ไขในทุกๆ Template ที่เราสร้างไว้  แต่ถ้าหากเราแบ่งโค๊ดส่วนนี้ออกมาเป็น Partial Template เราสามารถที่จะแก้ไขจากไฟล์เดียว  ไม่ต้องวนแก้หลายๆ ที่  และนั่งปวดหัวเช็คว่าแก้ครบหรือยังอีกต่อไป

อีกหนึ่งความสะดวกของการแบ่ง Template ออกแบบส่วนๆ ก็คือเมื่อเราต้องการปิดการแสดงผลบางส่วน (เช่นอยากปิดส่วน Author Info) เราก็แค่ไปคอมเมนต์โค๊ดออกแค่บรรทัดเดียว  แทนที่จะต้องไปคอมเมนต์ HTML ยาวๆ  แถวยังเสี่ยงไปคอมเมนต์ผิด Nest อีกต่างหาก  ซึ่งจุดนี้จะทำให้โค๊ดของเราสะอาดขึ้นด้วยครับ

Read More

Cache ในเวิร์ดเพรส ด้วย WP Super Cache

ปกติแล้วบล็อกของผมนั้นไม่ได้เปิดใช้งานระบบแคชครับ  เนื่องจากผมเห็นว่าเว็บมันไม่ได้โหลดหนักอะไรอยู่แล้ว (คนเข้าก็ไม่เยอะครับ 55) เลยไม่ได้สนใจจะเปิด  แต่คืนนี้นั่งน้ำมูกไหลอยู่เพลินๆ เลยลองทำแคชเล่นดู  ก็เห็นตัวเลขน่าสนใจเหมือนกัน  เลยลองเอามาแชร์กันครับ

ผมทดสอบความเร็วการเข้าเว็บด้วย http://webwait.com/ ครับ  ผมเข้าใจว่ามันวัดจากเน็ตเรานี่แหละ  โดยเมื่อปิดใช้งานแคช  บล็อกนี้จะใช้เวลาเข้าถึงเฉลี่ยประมาณ 1.2 วินาที ตามภาพนี้

การเข้าถึงโดยไม่มีแคช

การเข้าถึงโดยไม่มีแคช

จริงๆ มันก็จัดว่าต่ำอยู่แล้ว (ก็บล็อกมันไม่ได้โหลดหนักอะไรนี่เนอะ) แต่เพื่อความสนุกส่วนตัว  เลยจะลองเปิดใช้งาน Cache ดูครับ

Read More

รู้จักกับ Child Theme ใน WordPress

ปกติแล้วเวลาเราต้องการแก้ไขธีมให้มีหน้าตาตามที่ต้องการ หรือเพิ่มฟีเจอร์ที่เราต้องการ  หลายคนมักจะใช้วิธีแก้ไขลงไปที่ไฟล์ธีมตรงๆ ซึ่งปํญหาที่ตามมาคือเมื่อเราอัพเดทธีมเป็นเวอร์ชันใหม่  ฟีเจอร์หรือการปรับแต่งที่เราทำเอาไว้  ก็จะหายไปด้วย  หรือถ้าปล่อยธีมไว้ไม่อัพเดท  หากว่าอัพเดทนั้นๆ เกี่ยวกับความปลอดภัย  ก็ทำเว็บเราเสี่ยงอันตรายไปโดยปริยาย

Child Theme ในเวิร์ดเพรส

ในเวิร์ดเพรส  เราสามารถสร้างธีมลูก (หรือ Child Theme) ให้กับธีมใดๆ ก็ได้  โดยธีมลูกนั้นจะคล้ายๆ กับการเขียนคลาสใหม่ที่ขยายคลาสเดิมใน PHP  คือเมื่อเราเปิดใช้ธีมลูกแล้ว  ในขั้นตอนการหาไฟล์ Template ตาม Hierarchy ของเวิร์ดเพรส  ตัวเวิร์ดเพรสจะมองหาไฟล์เท็มเพลตในธีมลูกก่อน  หากไม่เจอจึงจะไปหาเอาในธีมหลัก

ตัวอย่างเช่นเราต้องการแก้ไขหน้าตาของ single.php (หน้าแสดงโพสต์) เราก็จัดการสร้างธีมลูกขึ้นมา  และสร้างไฟล์ single.php ขึ้นมา  และปรับแต่งหน้าตาใดๆ ให้เรียบร้อยตามต้องการ  เมื่อเวิร์ดเพรสมองหาเท็มเพลท single.php มันจะไปมองหา single.php ในธีมลูก ก่อน  หากไม่เจอ  จึงจะไปหา single.php ในธีมหลัก

Read More