ใส่พรีวิวไฟล์แบบ OSX ให้กับ elementaryOS ด้วย Gloobus-preview

ฟีเจอร์หนึ่งของ OSX ที่ผมคิดว่ามันสะดวกดี  คือฟีเจอร์การพรีวิวไฟล์ที่ชื่อว่า QuickLook คือมันจะเป็นโปรแกรมเล็กๆ สำหรับพรีวิวเนื้อหาต่างๆ โดยไม่จำเป็นจะต้องเปิดโปรแกรมขึ้นมาดู  ทำให้สามารถเห็นภาพคร่าวๆ ของไฟล์นั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ในขณะที่ฝั่ง Windows และ Linux มักจะต้องเปิดโปรแกรมขึ้นมาเพื่อดูไฟล์นั้นๆ เลย ซึ่งเอาจริงๆ มันก็ค่อนข้างช้า  ไม่ทันใจ

จริงๆ สมัยก่อน Windows จะมีโปรแกรม QuickView ติดมาให้ แต่ก็ถูกถอดออกไปตั้งแต่ Windows Me (คงเป็นเพราะว่าเริ่มใส่ Preview Pane เข้ามาให้แทน) แต่ก็มีคนทำโปรแกรมลักษณะนี้ออกมาขายเช่นกัน  เช่น QuickView Plus

สำหรับในฝั่งลีนุกซ์  จะมีโปรแกรมสำหรับพรีวิวเอกสารในลักษณะ QuickLook เช่นกัน  ในชื่อว่า Gloobus-preview ครับ (ส่วนใครใช้ GNOME Shell ก็จะมี gnome-sushi อยู่แล้ว) หน้าตาของมันก็ ประมาณนี้

Read More

ลองเล่น elementaryOS Isis

นานมาแล้ว ผมเคยเขียนถึง elementaryOS Luna เอาไว้  และทิ้งท้ายเอาไว้ว่ารุ่นถัดไปของ elementaryOS คือ Isis ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้บ่อยรุ่น Beta มาให้ลองใช้กัน  แต่สำหรับคนอยากลอง  ก็มีคนเอาซอร์สโค๊ดของ Isis มาคอมไพล์  และปล่อยให้ดาวน์โหลดกัน

เรื่องของเรื่องคือวันนี้ผมพยายามอัพเกรดซอฟต์แวร์ในเครื่อง (ซึ่งใช้ Luna Unstable เป็นหลัก) แต่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น  ทำให้ Visual ต่างๆ ของ elementaryOS พังยับไปเลย  เลยกะว่าลงใหม่เลยแล้วกัน  แต่ว่าไหนๆ ก็ไหนๆ เลยลองหา Isis มาลงเล่นเลยแล้วกัน  ถ้ามันโอเคแล้วก็ใช้ยาวเลย

แต่บังเอิ๊ญญญญ มันยังไม่โอเคนี่สิ

สวัสดี Isis

Read More

ประสบการณ์กับ elementary OS Luna

ช่วงหลังๆ มานี่ผมพยายามหาลีนุกซ์มาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ของผมอยู่  เพราะว่าผมชักจะเบื่อกับการเขียนเว็บบนวินโดวส์  ที่มักจะมีปัญหาจุกจิกเวลาเอาขึ้นโฮสต์ลีนุกซ์  ผมเลยจัดการหาลีนุกซ์มาใช้เลย (จะซื้อแมคบุคเครื่องมันก็สเป็คต่ำไป เล่นเกมไม่สะใจ แหะๆ)

หลักๆ แล้วผมจะมองไปที่สาย Debian เสียมากกว่า (ถนัดกว่า) แต่ว่าแต่ละตัวก็จะติดเรื่องที่ไม่ชอบเล็กๆ น้อยๆ อยู่ร่ำไป  อย่างเช่น Ubuntu ที่ผมไม่ชอบ Unity หรือ Linux Mint ที่ผมไม่ชอบหน้าตามันเท่าไหร่

ผมค้นๆ คุ้ยๆ ไปมาก็ไปเจอกับ elementary OS เข้าให้  จะให้พูดง่ายๆ มันก็คือ Linux ที่ทำหน้าตาให้เหมือน OSX นั่นแหละ  โดยในตอนแรกที่ผมเจอนั้น  มันยังเป็น Beta 1 อยู่  และเมื่อไม่นานมานี้มันก็ออกรุ่น Stable เรียบร้อย  เลยไม่รอช้าที่จะลองเอามาติดตั้งใช้งานกัน

Read More

แชร์ข้อมูลระหว่าง Linux Mint และ Windows (สำหรับเครื่อง Dual Boot)

ผมเป็นคนนึงที่ใช้ Linux Mint คู่กับ Windows 7 ด้วยวิธี Dual boot ซึ่งจะมีเรื่องน่ารำคาญเล็กน้อยเกี่ยวกับพวก Library ต่างๆ นั้นอยู่แยกกัน  ระหว่างบน Linux และ Windows (เช่น Pictures, Music, Video, และ Downloads)

ที่จริงมันไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่  เพราะลีนุกซ์สามารถเข้าใช้ไดรฟ์ของวินโดวส์  และอ่านข้อมูลในโฤลเดอร์ของเราได้ทันที  ปัญหาคือวินโดวส์ไม่สามารถเข้าใช้ไดรฟ์ของลีนุกซ์ได้ (ผมลงแบบติดตั้งไว้ในวินโดวส์อีกที  เหมือน WUBI) และหลายครั้งที่เมื่อทำงานบนลีนุกซ์  จะเผลอเซฟงานไว้ใน Library ของลีนุกซ์  ทำให้เวลาที่อยู่บนวินโโวส์จะไม่สามารถเอาไฟล์พวกนี้มาใช้ได้เลย

แนวคิดการแก้ปัญหา

ความสามารถหนึ่งของ Linux ที่ผมชอบมันมากคือเราสามารถเมาท์พาร์ทิชั่นเข้าไปที่ไดเรคทอรี่ใดๆ  รวมถึง bind ไดเรคทอรี่ต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างอิสระ (เช่นเราสามารถสั่งให้เมื่อเปิดโฟลเดอร์ A แล้วมันจะเป็นอันเดียวกับโฟลเดอร์ B ได้) ทำให้เราสามารถเมาท์พาร์ทิชันของวินโดวส์  และจัดการผูก Library ของวินโดวส์เข้ากับของลีนุกซ์ได้อย่างง่ายดาย!

และอีกความสามารถหนึ่งของลีนุกซ์คือการสั่งเมาท์พาร์ทิชันและผูกไดเรคทอรี่ต่างๆอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง  ผ่านทางไฟล์ /etc/fstab ทำให้เราสามารถผูกไลบรารี่ต่างๆได้อัตโนมัติทันทีที่เปิดเครื่อง

Read More

ติดตั้ง LAMP Server บน Linux Mint 13

LAMP Server เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ของ Linux + Apache + MySQL + PHP ครับ สำหรับบน Windows เราเรียกกันว่า WAMP (Windows + Apache + MySQL + PHP) ซึ่งปกติที่เราใช้กันก็ไม่พ้น AppServ หรือ XAMPP อะไรพวกนี้ ซึ่งเราเพียงแค่โหลดตัวติดตั้งมา และติดตั้งมันลงไป ก็พร้อมใช้งาน

สำหรับบน Linux นั้นอาจจะไม่มีตัวติดตั้งสำเร็จรูปแบบบนวินโดวส์ (ผมเคยเจอก็เป็นลักษณะของ shell script) แต่ก็ยังคงสามารถติดตั้งได้ผ่านการลงแพ็คเกจแต่ละตัวลงไปเอง พร้อมกับคอนฟิกเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ วันนี้เลยจะพาไปดูการติดตั้ง LAMP บน Linux Mint 13 กันครับ (ลีนุกซ์สายพันธุ์ Debian อื่นๆ เช่น Debian หรือ Ubuntu ก็ใช้วิธีไม่ต่างกันนัก)

Read More