การจัดการ Partition ด้วย EASEUS Partition Manager

Entry นี้ดึงเนื้อหาจากรายงานมาลงครับ ซึ่งเนื้อหาในรายงานนี้ก็เขียนไว้ว่าจะลงบล็อกเมื่อนานมาแล้ว (สมัยยังมีแต่บอร์ด MyBB แล้วยังไม่มีบล็อกที่เป็น WordPress โน่น !) แต่ไม่ได้ลงสักที พอทำรายงานก็ถือโอกาสอัพเดทรูปแล้วเอามาลงสักหน่อย

เริ่มกันเลย…

ปล.ภาพบางภาพมันอาจจะเล็กๆ หรือไม่ก็โดนขยายจนแตก เพราะเซฟออกมาจากไฟล์ ODT ครับ แล้วตอนสร้างเอกสาร ดูใน Writer แล้วมันมึนๆ เลยปรับซะ :P


EASEUS Partition Manager เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการ Partition จากบริษัท EASEUS ซึ่งในรุ่น Home Edition นั้นเราสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีๆ ข้อจำกัดของมันก็คือไม่รองรับ Windows Server และ Windows เวอร์ชั่น 64 bit ครับ โดยเราสามารถดาวน์โหลด EASEUS Partition Manager 4.0.1 Home Edition ได้จาก http://www.partition-tool.com/download.htm (เขียนโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)

หลังจากดาวน์โหลดมาแล้ว ก็ให้ติดตั้งให้เรียบร้อย (ติดตั้งโปรแกรมเป็นกันทุกคนนะครับ … หรือเปล่า )

เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว จะมีไอคอนของโปรแกรมปรากฎขึ้นอยู่ที่ Desktop ให้ทำการเปิดโปรแกรมขึ้นมา ซึ่งจะมีหน้าตาแบบนี้ครับ?(เนื้อหาจาก http://jirayu.info)

การปรับขนาด Partition

ก่อนที่เราจะทำการสร้าง Partition ใหม่ หาก Harddisk มีการสร้าง Partition เอาไว้อยู่แล้ว โดยที่ Partition นั้นกินพื้นที่ของ Harddisk ทั้งหมด เราจำเป็นต้องปรับขนาดของ Partition ก่อน เพื่อให้มีพื้นที่ว่างพอสำหรับสร้าง Partition ใหม่ขึ้นมาก่อน แล้วจึงสร้าง Partition ขึ้นมาใหม่อีกทีหนึ่ง (เขียนโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)

ในการปรับขนาด Partition ให้เลื่อนเมาส์ไปวางทับบนกรอบสีชมพูสุดขวามือ โดยให้เมาส์ขึ้นเป็น Cursor ดังภาพ จากนั้นจึงคลิกแล้วลากเมาส์เพื่อปรับขนาดตามต้องการ เมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้วจึงปล่อยเมาส์

หรือถ้าหากว่าต้องการการแบ่งที่ละเอียดขึ้นไปอีก สามารถทำได้โดยการคลิกขวาบนพื้นที่ Partition ที่ต้องการแบ่ง จากนั้นเลือกคำสั่ง Resize/Move จากนั้นจะมีหน้าต่างปรากฎขึ้นมาดังภาพ (เขียนโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)

ในหน้านี้ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถคลิกที่หัวลูกศรเพื่อปรับขนาดของ Partition ได้ ซึ่งจะมีช่องบอกค่าตัวเลขอยู่ 4 ช่อง สำหรับบอกค่าพื้นที่ส่วนต่างๆ ดังนี้ (เนื้อหาจาก http://jirayu.info)

  • Unallocated Space Before พื้นที่ว่างช่วงก่อน Partition
  • Partition Size พื้นที่ของ Partition
  • Unallocated Space After พื้นที่ว่างช่วงหลัง Partition
  • Cluster size ขนาด Cluster

สำหรับพื้นที่ว่างช่วงก่อนและหลัง Partition นั้น จะเป็นเรื่องของตำแหน่งของ Partition บน Harddisk ซึ่งปกติควรสร้าง Partition โดยเริ่มวางวงในของ Harddisk ก่อน (คือสร้าง Partition ให้ชิดทางซ้ายมือก่อนนั่นเอง)

และหากว่า Partition ที่จะทำการปรับขนาดนั้นมีข้อมูลที่สำคัญอยู่ ผู้ใช้ควรทำการสำรองข้อมูลไว้ก่อน เผื่อกรณีที่อาจมีความเสียหายเกิดขึ้นกับข้อมูลได้ในระหว่างที่ปรับขนาดหรือย้ายตำแหน่ง Partition ซึ่งเมื่อปรับขนาดได้แล้วให้กดOK ออกมา จากนั้นเมื่อสังเกตุที่แถบแสดงพื้นที่ Harddisk จะเห็นว่ามีพื้นที่สีเทาเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะระบุไว้ว่าเป็น Unallocated หรือก็คือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานนั่นเอง (เขียนโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)

การสร้าง Partition

หลังจากที่เราสร้างพื้นที่ว่างสำหรับ Partition ใหม่แล้ว ให้เราคลิกขวาบนพื้นที่เทา แล้วเลือกคำสั่ง Create เพื่อนำพื้นที่ว่างนั้นไปสร้างเป็น Partition ใหม่ขึ้นมา(เนื้อหาจาก http://jirayu.info)

หลังจากคลิกเลือก Create แล้ว จะมีหน้าต่าง Create Partition แสดงขึ้นมาดังภาพ


ในหน้าต่าง Create Partition จะมีส่วนสำหรับกำหนดค่าอยู่สองส่วน คือส่วนของรายละเอียดของ Partition และส่วนที่กำหนดขนาดของ Partition ซึ่งในส่วนของการกำหนดขนาด Partition สามารถดูรายละเอียดได้จากขั้นตอนการ Resize/Move Partition และในส่วนของรายละเอียด Partition จะมีรายละเอียดดังนี้(เนื้อหาจาก http://jirayu.info)

  • Partition Label ชื่อของ Partition (หากไม่กำหนด จะเป็น Local Disk)
  • Create As รูปแบบของ Partition คือ Primary (Partition หลักของ Harddisk ตัวนั้นๆ)
    หรือ Logical (Partition รองของ Harddisk ตัวนั้นๆ)
  • File System ระบบไฟล์ โดยหากแบ่งสำหรับ Windows 2000/XP/Vista/7 จะเป็น NTFS
    หรือหากเป็น Windows 98/Me จะเป็น FAT32 ส่วน FAT16 เป็น Windows 95
    หรือเก่ากว่า หรือหากเลือก Unformatted จะเป็นการสร้าง Partition ขึ้นมาเฉยๆ
    ไม่มีการกำหนดระบบไฟล์ (เนื้อหาและภาพโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)
  • Drive Letter ตัวอักษรของไดรว์ เช่น C:, D:, E:
  • Cluster Size ขนาด Cluster (เนื้อหาและภาพโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)

หลังจากที่ทำการกำหนดค่าต่างๆของ Partition เรียบร้อยแล้ว ให้กด OK ออกมา เพื่อสร้าง Partition ซึ่งจะปรากฎขึ้นที่หน้าจอหลักของโปรแกรมและแถบแสดงขนาด Partition

แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว หากเราไปตรวจสอบ Partition ทั้งหมดในเครื่องของเรา (ก็คือเปิด My Computer ขึ้นมาดูนั่นแหละ) จะพบว่า Partition ใหม่ของเราจะยังไม่ถูกสร้างขึ้น

เหตุผลก็คือเรื่องของความปลอดภัยครับ อย่างเช่นกรณีเราตั้งค่า Partition ที่ต้องการจะแบ่งผิด ความเสียหายก็จะยังไม่เกิดขึ้นในทันที ซึ่งในการยืนยันการสร้างหรือแก้ไข Partition เราจะต้องกดที่ปุ่ม Apply ที่ Toolbar เสียก่อน

เมื่อกดไปแล้วก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาเพื่อยืนยันว่าจะทำการดังกล่าวจริงหรือไม่ หากต้องการแก้ไข Partition ให้กดที่ Yes หรือหากไม่ต้องการทำการแก้ไข Partition ให้กดที่ No (เนื้อหาและภาพโดย จิรายุ ยิ่งถาวรสุข)

หากกด Yes ไป โปรแกรมจะขึ้นเพื่อร้องขอการ Reboot เครื่อง ให้กดที่ Yes เพื่อทำการ Reboot เครื่อง

ในขั้นตอนการ Reboot เครื่อง เมื่อ Reboot ขึ้นมาครั้งหนึ่ง (คือผมก็ไม่รู้จะไปจับภาพมาให้ยังไง :P) จะปรากฎหน้าจอสีฟ้า แสดงความคืบหน้าการแก้ไข Partition และเมื่อการแก้ไข Partition เสร็จสิ้น โปรแกรมจะให้ Reboot เครื่องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโปรแกรมจะทำการ Reboot ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งถือว่าการแก้ไข Partition เสร็จสมบูรณ์

จบแล้วครับ :D

ส่วนว่าใครอยากเอาเนื้อหาไปเผยแพร่ ผมอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้ทันที ตราบใดที่

  1. ลงลิงค์ ในฐานะแหล่งอ้างอิงมายังหน้านี้ เท่านั้น
  2. ไม่นำไปใช้ในเชิงการค้า หรือใช้หาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง
  3. ห้ามซ่อนเนื้อหา เช่นต้องกด Thank หรือตอบก่อน ถึงจะเห็นเนื้อหา
  4. ในกรณีที่นำไปทำรายงาน ให้เรียบเรียงเนื้อหาใหม่ก่อนนำไปใช้ ห้ามคัดลอกแล้วไปวางเด็ดขาด

แล้วท่านจะสามารถเผยแพร่เนื้อหานี้ได้อย่างเป็นสุข ;D

Posted by jirayu

WordPress Developer ที่พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง วันไหนไม่ทำงานอยู่บ้านว่างๆ ก็นั่งเลี้ยงแมว

7 Replies to “การจัดการ Partition ด้วย EASEUS Partition Manager”

  1. ขอบคุณมากๆๆคับ
    ได้ประโยชน์มากทีเดียวคับ

    Reply

  2. ขอบคุณมากๆ กำลังต้องการใช้พอดี

    Reply

  3. ผมขออนุญาต เผยแพร่เนื้อหา ในหน้านี้ ตามข้อตกลงแล้วนะครับ

    http://www.windows-problem.co.cc/index.php/topic,12.0.html

    ขอขอบคุณมากครับ

    Reply

  4. ใช้แล้วประทับใจ รวดเร็วดีมากเลยครับ

    Reply

  5. ขอบคุนมากคับ
    มันดีมาก

    Reply

  6. ช่วงที่เป็นจอสีฟ้านานมากไหมครับของผมเป็นชั่วโมงเลยข้อมูลไดว์ดDมีแค่คาราโอเกะ

    Reply

  7. จะขึ้นอยู่กับข้อมูลในไดรฟ์ครับ ว่าต้องมีการย้ายข้อมูลมากแค่ไหน (ยิ่งไฟล์มีจำนวนมาก จะยิ่งนาน) ผมเคยทำก็ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงยันสองชั่โมงครับ แต่ก็อาจจะนานกว่านี้ได้อีก :)

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *