ทำโดนเมนหลอกๆไว้ในเครื่องตัวเอง ตอนที่ 2

ติดไว้คราวที่แล้ว ว่าจะเขียนตอนที่ 2 ให้ ในเรื่องของการใช้โดเมนหลอกๆบน localhost วันนี้ก็เลยมานั่งเขียนให้เสียหน่อย (อันที่จริงก็ไม่ได้เป็นเวลาว่างหรอก :P)

จากคราวที่แล้ว เรารู้วิธีการเพิ่มโดเมนหลอกๆในเครื่องเราแล้ว คราวนี้ทุกคนก็จะเจอว่าเราสามารถใส่ไปกี่โดเมนก็ได้ แม้แต่ sub domain แต่ว่าพอลองเข้าไปยังโดเมนหลอกๆของเราแล้ว จะพบว่ามันจะแสดงหน้าเว็บเดียวกันหมด (เหมือนกับตอนเราเข้าผ่าน http://localhost นั่นแหละ)

ปัญหานี้สามารถใช้ระบบ Virtual Hos ของ Apache เข้ามาช่วยได้ครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักกันคร่าวๆก่อน ว่า Virtual Host ของ Apache มันคืออะัไร Virtual Host ก็คือการใช้เซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่ง มาทำเว็บหลายๆเว็บ โดยแต่าละเว็บอยู่คนละโดเมนหรือซับโดเมนกันนั่นแหละครับ (ส่วนการทำหลายๆเ้ว็บไว้ในแต่ละ Subdirectory ไม่ถือว่าเป็น Virtual Host นะครับ) แค่นั้นแหละ :P

เอาล่ะ มาดูวิธีทำกัน ขั้นแรกให้เปิดไฟล์ httpd.conf ขึ้นมาครับ (ด้วย Text Editor ตัวใดก็ได้) ปกติมันจะเก็บไว้ที่ … > Apache > conf ครับ จากนั้นให้มองหาบรรทัดนี้แล้วเอาเครื่องหมาย # หน้าบรรทัดออก จากนั้นเซฟแล้วปิดไปได้เลย

#Include conf/extra/httpd-vhosts.conf

เอาล่ะ เมื่อเอา # ออกไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้เปิดไฟล์ … > Apache > conf > extra > httpd-vhosts.conf ขึ้นมา ด้วย Text Editor ตัวใดก็ได้ เออ ตัวเดิมก็ได้ครับ :P

คราวนี้ก็ถึงขั้นตอนการสร้าง Virtual Hosting แล้วครับ อ้อ ขอสารภาพก่อนว่าผมแค่พอทำให้มันใช้ได้เท่านั้น แต่ตรงไหนทำไปเพื่ออะไร ผมไม่ทราบครับ !

เอาล่ะ เปิดขึ้นมาแล้วตรงไหนก็ไม่สำคัญครับ เพราะส่วนสำคัญมันอยู่ที่แท็ก VirtualHost ซึ่งมันจะมีโครงสร้างประมาณนี้

<VirtualHost *:80>
ServerAdmin [email protected]
DocumentRoot “C:/AppServ/www”
ServerName localhost
ServerAlias localhost
ErrorLog “logs/localhost-error.log”
CustomLog “logs/localhost-access.log” common
</VirtualHost>

เท่าที่ผมพอจะทราบ (หรือเดาไว้) แต่ละค่าจะประมาณนี้ครับ

  • ServerAdmin – อีเมล์ผู้ดูแลระบบ (ที่จริงน่าจะเป็นชื่อหรือเบอร์โทรก็ได้มั๊ง)
  • DocumentRoot – root ที่จะใช้เก็บไฟล์เว็บสำหรับโดเมนนี้ (อาจจะกำหนดเป็น C:web1, C:web2 อย่างนี้ก็ได้ครับ)
  • ServerName – ส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนกำหนดโดเมน (เช่น www.jirayu.com, main.jirayu.com)
  • ServerAlias – ชื่ออื่นๆที่จะใช้สำหรับเข้ามาที่เว็บนี้ จะกำหนดไว้กี่อันก็ได้ (เช่นผมอาจจะกำหนด www.jirayu.com, w3.jirayu.com, web.jirayu.com)
  • ErrorLog – ไฟล์ ErrorLog ของเว็บนี้
  • CustomLog – ดูจากชื่อไฟล์ น่าจะเป็น Log บันทึกการเข้าใช้งานเว็บ

ดังนั้น หากเราต้องการให้ url http://blog.jirayu.info แสดงเนื้อหาใน C:/AppServ/www/blog ผมก็จะ เพิ่ม แท็ก VirtualHost เข้าไปดังนี้

<VirtualHost *:80>
ServerAdmin [email protected]
DocumentRoot “C:/AppServ/www/blog”
ServerName blog.jirayu.com
ServerAlias blog.jirayu.com
ErrorLog “logs/blog.jirayu.com-error.log”
CustomLog “logs/blog.jirayu.com-access.log” common
</VirtualHost>

เอาล่ะ เพิ่มจนเสร็จแล้วก็เซฟ ปิดไฟล์ซะ แล้วก็ Restart Apache สักทีหนึ่ง จบ !

Posted by jirayu

WordPress Developer ที่พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง วันไหนไม่ทำงานอยู่บ้านว่างๆ ก็นั่งเลี้ยงแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *