รู้จักกับ HTTP Request ประเภท PUT และ DELETE

คนทำเว็บที่ได้ไปยุ่งกับการเขียน HTTP Request (ซึ่งมักจะได้ไปยุ่งกับตอนได้เขียนเว็บเชื่อมกับ API ของอะไรสักอย่าง) คงเคยเห็นเมธ็อดหลักๆทั้ง 4 ประเภท  คือ GET POST PUT และ DELETE แต่เรามักจะได้ใช้กันแค่ GET และ POST เท่านั้น  แต่เรากลับไม่ค่อยได้ใช้ PUT และ DELETE กันเลย

GET และ POST

โดยทั่วไปเรามักจะได้ทำงานกับ GET และ POST เท่านั้น  โดย GET จะเป็นการส่ง URL ร้องขอข้อมูลไปตรงๆ  เช่น

GET http://application.api/user/10012

หรือการส่งไปพร้อมกับคิวรี่สตริงใน URL เช่น

GET http://application.api/search/?keyword=camera

ส่วน POST จะเป็นการส่งข้อมูลกลับไปหาแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว  เช่น

POST http://application.api/user/create

โดยมันจะส่งข้อมูลชุดหนึ่งแนบไปด้วย  อย่างในกรณีตัวอย่างนี้คือจะส่งข้อมูลสำหรับให้สร้าง User ใหม่ไปด้วยนั่นเอง

Read More

การเขียน Widget สำหรับ WordPress

Widget โดยนิยามแล้วมันคือกล่องเล็กๆ ที่ไว้สำหรับแสดงข้อมูลเพิ่มเติมบน Sidebar (เช่นโพสต์ล่าสุด, กล่องค้นหา, รายการแท็ก, ฯลฯ) ซึ่งตัว WordPress เองก็ได้เตรียมวิดเจ็ตเอาไว้ให้เราจำนวนหนึ่ง  และปลั๊กอินหลายๆ ตัวก็มาพร้อมกับวิดเจ็ตด้วยเช่นกัน  แต่โดยปกติแล้ววิดเจ็ตเหล่านี้มักจะปรับแต่งอะไรได้ไม่มากนายนัก  ทำให้บางครั้งก็ค่อนข้างลำบากในการเอามาใส่ให้เข้ากับเว็บที่ทำอยู่

เนื่องจากงานสองสามงานล่าสุดที่ผมทำนั้นมีการต้องเข้าไปเขียน Widget เพิ่มเติมด้วย (เว็บ TechSauce) โดยเหตุหลักๆ คือวิดเจ็ตที่มากับ WordPress เองนั้นมันหน้าตาไม่เข้ากับ Design นั่นแหละ  ดังนั้นไหนๆ ก็ไหนๆ เอามาลงบล็อกเลยแล้วกัน

คลาสขยาย WP_Widget

Widget ใน WordPress นั้นจะเขียนขึ้นมาในลักษณะ OOP โดยขยายจากคลาส WP_Widget อีกต่อครับ   อ้ออย่าเพิ่งกลัวกับ OOP ครับ  ไม่ยากหรอก   เขียน Widget นี่มันแค่เขียนฟังก์ชันหน้าตา  ฟังก์ชันกล่องตั้งค่า  ฟังก์ชันเซฟค่า  แล้วก็ครอบมันด้วยคลาสโง่ๆ อันนึงแค่นั้นเอง (จริงๆ มันเขียนเป็น Procedural ได้ … แต่ผมไม่เคยเขียนวิดเจ็ตเป็น Procedural ครับ :v ) ไปลองดูโครงสร้างกัน

Read More

Action และ Filter ใน WordPress ต่างกันอย่างไร?

ในเวิร์ดเพรสนั้นจะมีวิธี Hook การทำงานอยู่ 2 แบบ  คือผ่าน Action และ Filter ซึ่งการทำงานของทั้ง Action และ Filter นี่มันคล้ายกันมาก … ไม่สิ  จริงๆ มันเหมือนกันเลย!!

ไม่เชื่อลองไปเปิดไฟล์ wp-includes/plugin.php ดูแถวๆ บรรทัดที่ 400 กว่าๆ (ตอนนี้ 4.1.1 ก็อยู่ที่  429) จะเจอการประกาศฟังก์ชันเอาไว้ดังนี้

function add_action($tag, $function_to_add, $priority = 10, $accepted_args = 1) {
	return add_filter($tag, $function_to_add, $priority, $accepted_args);
}

ครับ add_action() มันก็เป็น wrapper ธรรมดาๆ ของ add_filter() นั่นแหละ … อ้าว! แล้วมันต่างกันยังไง?

Read More

แสดงภาพตัวอย่างอัตโนมัติกรณีไม่ได้ตั้ง Featured Image

ปกติแล้วเวลาเราออกแบบธีมเวิร์ดเพรส  มักจะออกแบบมาเผื่อให้มี Featured Image (อีกชื่อคือ Post Thumbnail) กันอยู่แล้ว  ปัญหาคือเวลาเอาไปใช้จริงๆ เรากลับไม่ได้ตั้งภาพตัวอย่างให้กับทุกๆ โพสต์  ทำให้มันออกมาหน้าตาพิการๆ ไม่เป็นอย่างที่เราต้องการ  คล้ายๆ กับแบบนี้

โพสต์ไม่มีภาพ Featured Image

โดยปกติที่ผมเจอ  จะใช้วิธีเช็ค if … else กับฟังก์ชัน has_post_thumbnail() กัน  ว่ามีภาพ Featured Image หรือไม่  ถ้าออกมาเป็น false จึงค่อยแสดงภาพที่เตรียมไว้ … โค๊ดมันก็จะรกๆ ประมาณนี้

if(has_post_thumbnail()){
	the_post_thumbnail();
}else{
	echo '<img src="http://placehold.it/390x280">';
}

ครับ  มันรก  จริงๆ แล้วเราสามารถทำให้เหลือแค่ the_post_thumbnail() อันเดียวโดดๆ ได้  ด้วยการใช้ Filter เข้ามาช่วยครับ

Read More