[อัพเดท] ผมว่านะ พวกคุณควรเลิกใช้ AppServ ได้แล้วล่ะ

AppServ ออกเวอร์ชันใหม่แล้วจ้า!!

AppServ ออกรุ่นใหม่แยกเป็น 2 รุ่นครับ  คือรุ่น PHP 5.6 และรุ่น PHP 7.0 ทั้งสองเวอร์ชันมาพร้อมกับ MySQL 5.7 และ Apache 2.4 ครับ

ใครที่ยังเป็นแฟนๆ AppServ อยู่  สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ในเว็บหลัก AppServNetwork.com ได้เลยครับ (จะเปิดให้โหลดในวันที่ 8 มกราคมนะครับ)


AppServ จัดได้ว่าเป็น WAMP Stack ที่ “โคตรนิยม” ในหมู่คนไทย  นิยมขนาดว่าแม้ว่ามันจะหยุดพัฒนาไปแล้วประมาณ 5 ปี คนไทยก็ยังใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ (ตายยากน้องๆ Windows XP เลยนะเนี่ย)  คือในช่วงสามสี่ปีที่แล้วมันก็ยังโอเคนะครับ  ยังพอจะใช้กันได้แบบไม่มีปัญหา  แต่ปัจจุบันด้วยความเก่าของมัน  ทำให้หลายๆ คนเจอปัญหาเมื่อเอาเว็บไปลงใน Production กันแล้วครับ

ปัญหาหลักๆ ที่มักจะเจอกันคือปัญหาของเวอร์ชัน PHP ครับ ในขณะที่ซอฟต์แวร์ตัวอื่นใน AppServ ดูไม่ค่อยจะเป็นปัญหาเท่าไหร่ (ถ้าไม่ได้มักง่ายขนาดเอา AppServ ไปทำ Production Server นะ)

PHP 5.2 ปัญหาสำคัญใน AppServ

AppServ หยุดพัฒนาไปเมื่อปี 2009 และเวอร์ชันสุดท้ายของ AppServ มันมาพร้อมกับ PHP 5.2 ที่เลิกซัพพอร์ตไปตั้งแต่ปี 2011 ครับ  ในขณะที่โฮสต์ส่วนใหญ่ที่เปิดให้บริการอยู่ตอนนี้  เท่าที่ผมทราบคือจะใช้ PHP 5.3 กันเป็นหลัก (5.3 ก็เพิ่งหมดซัพพอร์ตไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาครับ  คิดว่าโฮสต์หลายที่น่าจะไล่อัพเกรดเป็น 5.4 หรือ 5.5 กันอยู่)

อ้อ มันมีรุ่นที่มากับ PHP6-Dev ด้วย  อันน่าช่างหัวมันครับ PHP6 โดนฝังกลบไปแล้ว (แถมมันก็เป็น build เมื่อปี 2009 นั่นแหละ) Major รุ่นถัดไปจะเป็น PHP7 ครับ

ตั้งแต่ PHP 5.3 เป็นต้นมา  มีฟีเจอร์ใหม่ๆ หลายตัวที่ถูกเพิ่มเข้ามา  และยังมีฟีเจอร์เก่าๆ อีกหลายตัวที่ถูกยกเลิกหรือเอาออกไปจาก PHP ด้วยเช่นกันครับ (และหลายๆ ตัวก็ยังเห็นคนใช้กันอยู่ด้วยสิ)

Read More

เริ่มต้นเขียน Theme ของ WordPress ใช้เอง ตอนที่ 3

สวัสดีครับ  วันนี้ผมกลับมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับการทำ Theme ของ WordPress ต่อ  หลังจากที่ดองเอาไว้เกือบสองปี (ครับ  ดองโพสต์นี้นั้นแหละ  ดองไว้เกือบสองปี) สำหรับใครที่มาไม่ทัน  สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ตามลิงค์นี้

และสำหรับเนื้อหาในตอนที่ 3 ผมจะพาไปรู้จักกับฟังก์ชันหลักๆ ที่เราใช้กันใน The Loop กันครับ

อะไรคือฟังก์ชันใน The Loop?

ฟังก์ชันของ WordPress ตามความเข้าใจของผมคือจะมีอยู่ 2 ประเภท  คือ 1. กลุ่มที่ใช้ได้เฉพาะใน The Loop เท่านั้น  และ 2. กลุ่มที่สามารถใช้นอก The Loop ได้

Read More

public, private, และ protected ใน PHP OOP

เวลาที่เราเขียนคลาสในภาษา PHP เราสามารถกำหนดให้ตัวแปรและฟังก์ชั่นภายในคลาสได้ (รู้สึกว่าเค้าจะเรียกกันว่า method) ว่าจะให้สามารถเรียกใช้ได้จากที่ไหนได้บ้าง  ซึ่งเราเรียกมันว่า Visibility ครับ  โดยเราสามารถกำหนดได้อยู่ 3 แบบคือ

  1. public สามารถเรียกได้ทุกที่  ทั้งภายในและภายนอกคลาส
  2. private สามารถเรียกได้เฉพาะในคลาส
  3. protected สามารถเรียกได้เฉพาะในคลาส และคลาสที่ขยายคลาสนี้

เราสามารถสรุปเรื่อง visibility ได้สั้นๆดัง 3 ข้อด้านบนครับ  ถ้าเข้าใจก็เรียกได้ว่าจบเนื้อหาตอนนี้  แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ  ลองไปดูตัวอย่างยาวๆ กันครับ

ตัวอย่างนี้จะเป็นโค๊ดของคลาสสองตัว  โดยตัวที่หนึ่งจะมีการสร้างฟังก์ชั่นภายในเอาไว้สามตัว  เป็นทั้ง public, private, และ protected ส่วนคลาสที่สองจะมาขยาย (extends) คลาสแรก  เพื่อทดสอบการเรียกใช้ฟังก์ชั่นแบบ protected ครับ

Read More

เริ่มต้นเขียน Theme ของ WordPress ใช้เอง ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้ว ผมพาไปดูโครงสร้างไฟล์และคอนฟิกธีมเบื้องต้นใน?เริ่มต้นเขียน Theme ของ WordPress ใช้เอง ตอนที่ 1 กันไปแล้ว ตอนนี้จะพาไปดูกับส่วนที่สำคัญที่สุดในธีม นั่นคือ The Loop ครับ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจวิธีการแสดงเนื้อหาของ WordPress นิดนึง คือใน WordPress จะใช้วิธีแสดงผลข้อมูลอย่างเดียวกันหมด คือผ่านการลูปครับ ซึ่งการลูปแต่ละรอบ WordPress จะปรับค่าตัวแปรต่างๆ ให้ตรงกับเนื้อหาขณะนั้นให้อัตโนมัติ เราสามารถเรียกแสดงผลผ่านฟังก์ชั่นต่างๆของเวิร์ดเพรสะ หรือตัวแปร $post ได้เลย

โครงสร้างพื้นฐาน The Loop

จริงๆแล้ว The Loop นั้นก็คือ while ปกติของ php นั่นเองครับ วิธีใช้ก็ประมาณนั้น

while (have_posts()) :
	the_post();

	.. ใส่โค๊ดอื่นๆตรงนี้ ..
endwhile;

Read More

เริ่มต้นเขียน Theme ของ WordPress ใช้เอง ตอนที่ 1

อยู่ก็อยากเขียนบทความยาวๆสักชุดนึง (ได้ข่าวว่าชุดเก่าก็ยังไม่เสร็จ) แต่ไม่รู้จะทำอะไรดี พักนี้รับงานเวิร์ดเพรสอยู่ เอาเป็นว่าจะเขียนบทความแนะนำการสร้างธีมของ WordPress เบื้องต้นให้แล้วกันครับ เผื่อใครที่ต้องการที่จะเขียนธีมใช้เอง โดยในตอนแรก ผมจะพาไปรู้จักกับโครงสร้างไฟล์ธีมของ WordPress และการคอนฟิกธีมเบื้องต้นกันก่อนนะครับ การเขียนคำสั่งต่างๆ จะพาไปรู้จักกันในตอนถัดไป

อ้อ ก่อนอื่น ผมจะสมมุติว่าทุกท่านมีพื้นฐาน PHP, HTML, และ CSS มาอยู่แล้วนะครับ (ถึงไม่มีก็อ่านได้ครับ แต่ถ้ามี จะเข้าใจง่ายกว่า)

ไฟล์ธีมที่สำคัญของ WordPress

ระบบธีมของ WordPress เอาเข้าจริงแล้วมันคือไฟล์ php ธรรมดาๆ ที่เรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆของ WordPress เราจะพูดว่า WordPress เป็นชุดคำสั่งสำเร็จรูปให้เราเอามาสร้างเป็นเว็บ ก็เห็นจะไม่ผิดนัก โดยพื้นฐานแล้ว ธีมของ WordPress มีเพียงสองไฟล์ ก็สามารถทำงานได้แล้ว นั่นคือ

  1. index.php
  2. style.css

ที่พูดมานี่เรื่องจริงนะเออ ถ้าไม่เชื่อ ลองโหลดไปดูครับ: example01.rar

Read More