การเรียกใช้ Partial Template ใน WordPress

ธีมของเวิร์ดเพรสนั้น  นอกจากการสร้างไฟล์ตาม Hierarchy แล้ว  มันยังรองรับการตัด Template ออกเป็นส่วนๆ  แล้วค่อยเรียกเข้ามาแสดงใน Template หลักอีกด้วย  ซึ่งส่วนหลักๆ ที่เรามักจะใช้กัน  จะมีอยู่สี่ส่วนด้วยกัน  นั่นคือ

  1. ส่วน header.php
  2. ส่วน footer.php
  3. ส่วน sidebar.php
  4. ส่วน searchform.php

และนอกจากสี่ส่วนนี้แล้ว  เวิร์ดเพรสยังอนุญาตให้เราสร้าง Template Part ขึ้นมาเอง  และเรียกมาแสดงผลผ่านฟังก์ชัน get_template_part();  ได้อีกด้วย

ข้อดีของการใช้ Partial Template

หลายๆ ครั้งที่เราสร้าง Template ให้กับหลายๆ หน้า  และมีบางส่วนที่เป็นโค๊ดซ้ำๆ กัน (เช่นส่วนแสดงชื่อโพสต์และวันที่, ส่วนแสดงเนื้อหา, ส่วนแสดงข้อมูลผู้โพสต์) หากเราสร้างออกมาเป็น Template ปกติ  เมื่อมีการแก้ไขส่วนที่โค๊ดซ้ำๆ กันนี้  เราจะต้องไปแก้ไขในทุกๆ Template ที่เราสร้างไว้  แต่ถ้าหากเราแบ่งโค๊ดส่วนนี้ออกมาเป็น Partial Template เราสามารถที่จะแก้ไขจากไฟล์เดียว  ไม่ต้องวนแก้หลายๆ ที่  และนั่งปวดหัวเช็คว่าแก้ครบหรือยังอีกต่อไป

อีกหนึ่งความสะดวกของการแบ่ง Template ออกแบบส่วนๆ ก็คือเมื่อเราต้องการปิดการแสดงผลบางส่วน (เช่นอยากปิดส่วน Author Info) เราก็แค่ไปคอมเมนต์โค๊ดออกแค่บรรทัดเดียว  แทนที่จะต้องไปคอมเมนต์ HTML ยาวๆ  แถวยังเสี่ยงไปคอมเมนต์ผิด Nest อีกต่างหาก  ซึ่งจุดนี้จะทำให้โค๊ดของเราสะอาดขึ้นด้วยครับ

Read More

ทำ Custom Page ในแบบของตัวเอง

ปกติแล้วใน WordPress เมื่อเราสร้างหน้า (Pages) ใหม่ขึ้นมา หน้านั้นๆ จะขึ้นอยู่กับธีมของบล็อกเรา ซึ่งบางที (ไม่สิ เกือบทุกทีเลย) ที่ทำให้ Custom Page ของเรามันดูจืดชืดไร้คำบรรยาย ไอ้ครั้นจะทำ Static page มาโยนใส่ มันก็ดันไปติด rewriting rules ของ WordPress เสียอีก จะทำยังไงดี

จริงๆแล้ว WordPress นั้นรองรับการสร้าง Templates ขึ้นมาใช้งานเฉพาะแต่ละหน้า ซึ่งเมื่อเราสร้างหน้าใหม่ขึ้นมา หากสังเกตุดีๆ ตรงกล่ิอง Page Attributes นั้นจะมีตัวเลือกหนึ่งในเลือก นั่นคือ Template

นั่นแหละครับ เราสามารถสร้าง Template ขึ้นมาสำหรับใช้งานเฉพาะแต่ละหน้าได้เช่นกัน อย่างเช่นไม่กี่วันก่อนนี้ ผมก็ใช้ Custom Page Template สร้างหน้า Contact ขึ้นมาเช่นกัน

Read More