JetPack by WordPress.com ปลั๊กอินเทวดาสำหรับ WordPress

JetPack by WordPress.com (จากนี้จะเรียกแค่ JetPack นะครับ) เป็นชุด “รวมปลั๊กอิน” ที่เขียนขึ้นมาแจกจ่ายโดย WordPress.com ครับ (ก็ทีมพัฒนาเวิร์ดเพรสนั่นแหละ) ลักษณะของมันคือจะเป็นปลั๊กอินที่รวมฟีเจอร์เจ๋งๆ หลายๆ อย่างเอาไว้ด้วยกัน  มาให้เราเลือกใช้เอาได้ในทันทีโดยไม่ต้องลงปลั๊กอินหลายๆ ตัวให้มันหน่วงกับเว็บเวิร์ดเพรสของเราครับ  และด้วยที่ว่ามันพัฒนาโดยทีมของเวิร์ดเพรสเอง  ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่ามันเขียนมาได้เหมาะกับเวิร์ดเพรส  และไม่น่าจะก่อปัญหาอะไรให้หนักอกหนักใจกับคนใช้เวิร์ดเพรสอย่างเรา

ฟีเจอร์หลักๆ ของมันมีดังนี้ครับ

  • ระบบเก็บสถิติโดย WordPress.com
  • ระบบคอมเมนต์โดย WordPress.com (ซึ่งคนคอมเมนต์จะเลือกติดตามคอมเมนต์ได้ด้วย)
  • โพสต์เนื้อหาไปยัง Social Network อัตโนมัติ
  • แน่นอนว่ามาพร้อมกับปุ่ม Share/Like ตาม Social Network ต่างๆด้วยเช่นกัน
  • ฟีเจอร์ Subscribe เว็บเราผ่านอีเมล
  • และอื่นๆ อีกเยอะแยะ (และมีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มอีกในอนาคต)

เอาเถอะ  ผมว่าไปลองดูฟีเจอร์ที่น่าสนใจของมันกันจะดีกว่าครับ

Read More

ใช้ MetroTwit ฟรี แบบไม่มีโฆษณา

MetroTwit เป็น Twitter Client ที่หน้าตาไฉไลที่สุดตัวหนึ่งบน Windows แถมยังปล่อยให้โหลดมาใช้กันได้ฟรีๆ  จึงไม่แปลกที่จะมีคนใช้มันเป็นจำนวนมาก  แต่ความฟรีของ MetroTwit ก็แลกมาด้วยข้อจำกัดเล็กๆน้อยๆ  เช่นสามารถเล่นได้แค่ Account เดียว  และมีโฆษณาแถมมาด้วย

ถ้าจำกันได้ เมื่อนานมาแล้วผมเคยเขียนเรื่องการทำโดเมนหลอกๆ เอาไว้ใช้งานในเครื่องตัวเอง  ซึ่งเราสามารถใช้เทคนิคเดียวกันนี้ในการบล็อคโฆษณาใดๆทิ้งได้แบบไม่เหลือซากเลยทีเดียว รวมถึงการ ลบโฆษณาใน MetroTwit ด้วยเช่นกัน

ลบโฆษณาใน MetroTwit

MetroTwit ใช้โฆษณาจาก 140proof.com วิธีง่ายๆที่จะบล็อกโฆษณาก็คือทำให้เข้าเว็บ 140proof.com ไม่ได้ไปซะ  โดยที่เราจะทำในนี้คือถีบมันกลับมาที่ 127.0.0.1

Read More

public, private, และ protected ใน PHP OOP

เวลาที่เราเขียนคลาสในภาษา PHP เราสามารถกำหนดให้ตัวแปรและฟังก์ชั่นภายในคลาสได้ (รู้สึกว่าเค้าจะเรียกกันว่า method) ว่าจะให้สามารถเรียกใช้ได้จากที่ไหนได้บ้าง  ซึ่งเราเรียกมันว่า Visibility ครับ  โดยเราสามารถกำหนดได้อยู่ 3 แบบคือ

  1. public สามารถเรียกได้ทุกที่  ทั้งภายในและภายนอกคลาส
  2. private สามารถเรียกได้เฉพาะในคลาส
  3. protected สามารถเรียกได้เฉพาะในคลาส และคลาสที่ขยายคลาสนี้

เราสามารถสรุปเรื่อง visibility ได้สั้นๆดัง 3 ข้อด้านบนครับ  ถ้าเข้าใจก็เรียกได้ว่าจบเนื้อหาตอนนี้  แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ  ลองไปดูตัวอย่างยาวๆ กันครับ

ตัวอย่างนี้จะเป็นโค๊ดของคลาสสองตัว  โดยตัวที่หนึ่งจะมีการสร้างฟังก์ชั่นภายในเอาไว้สามตัว  เป็นทั้ง public, private, และ protected ส่วนคลาสที่สองจะมาขยาย (extends) คลาสแรก  เพื่อทดสอบการเรียกใช้ฟังก์ชั่นแบบ protected ครับ

Read More