จัดหน้าเนื้อหา HTML ตอนที่ 1

ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปยาวนานมาก (เกือบๆจะสองเดือนได้) อันเนื่องมาจากชีวิตที่ยุ่งๆวุ่นๆ และมีเรื่องให้ใช้หัวเยอะมากไปหน่อย จนไม่มีเวลามาเขียนบล็อกแห่งนี้เลย รวมทั้งหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนลงบล็อกไม่ได้ด้วย (หรือผมหมดกิเลสไปเยอะก็ไม่ทราบเหมือนกัน)

เอาเถอะ วันนี้ผมจะเริ่มซีรี่ย์ของบทความบนบล็อก (ซึ่งได้ข่าวว่าซีรี่ย์เก่าที่เริ่มไว้ก็ยังไม่ได้ทำต่อ) ว่าด้วยการจัดหน้าและตกแต่งเนื้อหาบนหน้าเว็บด้วย HTML

หลายคนอาจจะคิดว่าการทำเรื่องพวกนี้อาจจะไม่จำเป็น เพราะปัจจุบันเราใช้ CMS สำเร็จรูป (เช่น WordPress) กันแทบทั้งนั้น การจัดหน้าและตกแต่งเนื้อหาก็ใช้ RTE ที่มากับ CMS เอา (หรืออย่าง Drupal ก็อาจจะใช้ markdown ได้) แล้วการจัดหน้าเองนั้นจำเป็นอย่างไร?

ผมคงตอบคำถามนี้ด้วยคำตอบสวยหรูที่อ้างอิงเหตุการณ์สมมติไม่ได้ ซึ่งผมจะตอบว่าเพราะ RTE มันจัดหน้าได้ไม่ได้ดั่งใจของผม ก็แค่นั้นแหละ (อ้อ แล้วผมยังใช้มันเวลาทำ static page เ้องด้วยนะ)

ก่อนจะเริ่มบทความชุดนี้ ผมขอบอกเอาไว้ก่อนว่าเนื้อหามันไม่ได้อ้างอิงจากตำรามหาเทพที่ไหนทั้งสิ้น ทั้งหมดผมถ่ายทอดมาจากที่ผมทำและเคยชิน ความเป็นระเบียบของโค๊ด ไม่มีบรรทัดฐานใดๆมากำหนด นอกจากผมบอกว่ามันเป็นระเบียบ โอเค? ถ้าทำใจยอมรับข้อนี้ได้ ก็เริ่มอ่านกันได้เลยครับ

Read More

CSS Gradient แห่งสี่โลก

เรื่องแอบน่าเบื่อเล็กๆอย่างหนึ่งเวลาทำเว็บก็คืออารมณ์ที่อยากจะใช้พื้นหลังแบบไล่สี (หรือ gradient) ซึ่งหลายคน (ผมก็เคยเป็น) คงเลี่ยงไปใช้โปรแกรมอย่าง Photoshop ในการทำพื้นหลังแบบไล่สี แล้วค่อยเอามาใส่ลงในหน้าเว็บ ซึ่งวิธีนี้ ผลลัพท์คือหน้าเว็บหนักขึ้นจากภาพที่เอามาทำพื้นหลัง แน่นอน

วิธีแก้ปัญหานี้ง่ายมากครับ หันไปใช้ CSS ซะ ซึ่งเบราเซอร์หลักทั้ง 4 ค่าย (Opera, IE, Firefox, Chrome) ต่างรองรับการไล่สีด้วย CSS กันทั้งสิ้น

แต่เรื่องน่าปวดตับมันอยู่ที่ทั้งสี่ค่าย ใช้ CSS ต่างกันหมดเลย…

Read More